วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

ชื่อสัตว์ในภาษาเหนือ



ชื่อสัตว์ในภาษาเหนือ




ผ่านมาหลายบทแล้ว  คราวนี้มาถึงเรื่องของการเรียกชื่อสัตว์ชนิดต่างๆในภาษาเหนือกันนะค่ะ  มาดูกันว่าเค้าเรียกว่าอย่างไรกันบ้าง  จะเหมือนกับที่เราคิดไว้หรือปล่าว  แต่ชื่อสัตว์บางชนิดก็เรียกเหมือนกับภาคอื่นๆนะค่ะ  ยกตัวอย่างเช่น หมา  แมว  นก   ไก่  งู  เป็นต้น  แต่อาจจะเรียกชื่อต่างกันไปตอนเรียกชนิดของสัตว์ที่ลึก แบ่งแยกออกไปอีก  เช่น นกกรงหัวจุก  ภาษาเหนือจะเป็น นกปิ๊ดจะลิ่ว  เป็นต้น








1.ปลาช่อน  =  ป๋าหลิม


2.ปลาหมอ  =  ป๋าสะเด๊ด


3.ปลากระดี่  =  ป๋าสะลาก


4.จิ้งจก  =  จั๊กกิ้ม


5.ตุ๊กแก  =  ต๊กโต


6.จิ้งเหลน  =  จั๊กกะเล้อเกี้ยง


7.กิ้งก่า  =  จั๊กก่า


8.หนอนผีเสื้อ , บุ้ง  =  แมงโบ้ง


9.ลูกอ๊อด  =  อิฮวก


10.คางคก  =  คางคาก


11.อึ่งลาย  =  คางคาก


12.งูสามเหลี่ยม  =  งูกั๋นป้อง


13.นกกระจอก  =  นกจอก


14.นกกางเขน  =  นกจี๋เจี๊ยบ


15.นกกรงหัวจุก  =  นกปิ๊ดจะลิว , นกกวิ๊ด


16.แมงป่อง  =  แมงเวา


17.แมลงสาบ  =  แมงแซบ


18.สุนัขสีขาวดำ  =  หมาโก้ง


19.แมวสีเหลือง  =  แมวเผิ้ง


20.กระรอก  =  ฮอก


21.ผึ้ง  =  เผิ้ง


22.วัว  =  งัว


23.ควายเขายาว  =  ควายหงาน


24.แมงปอ  =  อิบี้


25.ผีเสื้อ  =  ก๋ำเบ้อ


26.แมงมุม  =  ก๋ำปุ๊ง


27.กิ้งกือ  =  แมงแสนตี๋น


28.มดแดง  =  มดส้ม


29.นกฮูก  =  นกเก๊า


30.กุ๊ดจี่  =  จู้จี้


31.ตะพาบน้ำ  =  ป๋าผา


32.แมลงวัน  =  แมงงุน


33.กระจง  =  ฟาน


34.ช้าง  =  จ๊าง


35.ปลิง  =  ปิ๋ง


36.แมลงหวี่  =  แมงพิ๊ง


37.ริ้น  =  ฮิ้น


38.ไร  =  ไฮ


39.เห็บ  =  แมงต่ำแอ่


40.พยาธิ  =  แป๊ว






ประโยคสั้นที่มักจะได้ยินกันบ่อย



ประโยคสั้นๆที่มักจะได้ยินกันบ่อย    

  




  ในการพูดสื่อสารกันเป็นภาษาเหนือ หรือภาษาคำเมืองนั้น  เรามักจะได้ยินคำพูดเหล่านี้  รวมอยู่ในประโยคของบทสนธนาเสมอ  บางคำก็เป็นคำอุทาน  บางคำก็เป็นคำวิเศษณ์  บางคำก็เป็นคำกริยา  ซึ่งในบทนี้เราก็ได้รวบรวมเอามาไว้ให้เพื่อนๆศึกษากันบางส่วนนะครับ  ซึ่งหากใครได้มาเรียน  หรือมาเที่ยวที่ภาคเหนือตอนบน  จะต้องได้ยินคำเหล่านี้แน่นอน

บางคำที่เพื่อนๆอาจจะได้ยินมานั้น  อาจจะสงสัยว่าทำไมเค้าพูดอยู่คนเดียวได้  นั่นเป็นเพราะเค้าพูดประโยคลอยๆยังไงหล่ะ  แบบว่าใครจะได้ยินก็ได้ ไม่ได้ยินก็ได้  ขอแค่ให้ได้พูดระบายออกมาก็พอ  จากบทความหลายๆบทที่ผ่านมา เพื่อนๆคงจะได้เรียนรู้กันมาส่วนหนึ่งบ้างแล้ว  งั้นบทนี้ก็คงไม่ยากครับ ลองอ่านกันดูนะ แล้วก็แอบฝึกสำเนียงด้วยก็ได้  ไว้เดี๋ยววันหน้า  ผมจะทำเป็นไฟล์เสียงมาให้เพื่อนๆได้ฟังกันด้วยนะครับ





1.หยังมาเสียงดังขนาด   =   ทำไมเสียงดังจังเลย



2.กั๋วแต๊ กั๋วว่า   =   กลัวมากๆ



3.อดไค่หัวบ่าได้   =   อดขำไม่ได้



4.อะหยังป่ะล้ำป่ะเหลือ   =   อะไรกันนักกันหนา



5.ขอยขนาด   =   อิจฉามากๆ



6.จุ๊กั๋นแต๊ จุ๊กั๋นว่า   =   หลอกกันได้ หลอกกันดี



7.ซะป๊ะ ซะเป๊ด   =   เยอะแยะมากมาย



8.กึ๊ดเติงหาขนาด   =   คิดถึงมากๆ



9.ยะหยังอยู่   =   ทำอะไรอยู่



10.หยังมาง่อมแต๊ง่อมว่า   =   ทำไมถึงได้เหงาอย่างนี้



11.เกิบขบตี๋น   =   โดนรองเท้ากัด



12.ขอแหมน้อยเต๊อะ   =   ขออีกหน่อยนะ



13.หยังมาแปงขนาด   =   ทำไมถึงแพงจังเลย



14.บ่าเด่วยะก๋านตางได   =   เดี๋ยวนี้ทำงานที่ไหน



15.ปี๋นี้ปูกข้าวก่ำนักก่อ   =   ปีนี้ปลูกข้าวเหนียวดำเยอะมั๊ย



16.ลมบ่าดีบ่าเฮ้ย   =   อารมณ์ไม่ดีอ่ะ



17.ฟั่งแต๊ ฟั่งว่า   =   รีบร้อนไปไหน



18.จะไปฟั่งว่าเตื้อ   =   อย่าเพิ่งด่วนสรุปไป



19.จะไปยะหยังหยั่งอั้น   =   ทำไมถึงทำอย่างนั้นหล่ะ



20.ต้าวอุ๊บ ต้าวอั๊บ   =   ล้มลุกคลุกคลาน



วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตภาคเหนือ

ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตภาคเหนือ

ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปี พ.ศ. 2347 ได้มีการเทครัวชาวยวนลงมาในเขตภาคกลาง อาทิ จังหวัดสระบุรี (โดยเฉพาะอำเภอเสาไห้)[9][10]จังหวัดราชบุรี (มีมากที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอจอมบึง)[11]จังหวัดนครปฐม (โดยเฉพาะอำเภอกำแพงแสน)[12]จังหวัดกาญจนบุรี (โดยเฉพาะอำเภอไทรโยค)[13]จังหวัดลพบุรี (ที่อำเภอชัยบาดาล)[14] และจังหวัดนครราชสีมา (เฉพาะอำเภอสีคิ้ว)[15] โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรีมีชาวยวนราว 70,000-80,000 คน[16] และมีชาวยวนแทบทุกอำเภอ ยกเว้นเพียงแต่อำเภอดำเนินสะดวกกับวัดเพลงเท่านั้น[17]
ซึ่งภาษาไทยวนทุกจังหวัดมีหน่วยเสียง พยัญชนะและหน่วยเสียงสระเหมือนกัน รายละเอียดในวรรณยุกต์แทบไม่แตกต่างกัน ยกเว้นภาษายวนลพบุรีที่มีหน่วยเสียงแตกต่างจากอีก 4 จังหวัดเพียงหน่วยเสียงเดียว[18] ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวยวนลพบุรีได้อาศัยปะปนอยู่กับหมู่บ้านชาวลาว[14] อาจทำให้หน่วยเสียงเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้

ตัวอย่างประโยคภาษาเหนือที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ

1.ไปตางได  วันนี้ ?
(  วันนี้จะไปไหนเหรอ ? )
2.มาหาไผเจ้า ?
(  มาหาใครค่ะ ? )
3.กิ๋นข้าวกับหยัง ?
(  กินข้าวกับอะไร ? )
4.กิ๋นข้าวแล้วกา ?
(  กินข้าวหรือยัง ? )
5.ซื้อข้าวนึ่งจิ่มเจ้า
(  ซื้อข้าวเหนียวหน่อยค่ะ  )                             
6.อำเภอสารพีไปตางไดเจ้า ?
(  อำเภอสารภีไปทางไหนค่ะ ?  )
7.คนอะหยังจะได  หยังมาหมั่นแต๊หมั่นว่า
(  คนอะไร๊  ขยันจริงๆ ขยันสุดๆ  )
8.จะไปอู้กั๋นดังเน้อ
(  อย่าส่งเสียงดัง  )
9.พริกแด้นี่ขายหยั่งไดเจ้า ?
(  พริกขี้หนูนี่ขายยังไงค่ะ ? )
10.บ่ะหน้อแหน้นี่  โลเต้าไดเจ้า ?
(  น้อยหน่านี่กิโลละเท่าไหร่ค่ะ ?  )

สอนภาษาเหนือ

มาทำความเข้าใจกับประโยคภาษาเหนือกัน

 
หากเราได้ไปเที่ยวทางภาคเหนือ  ไม่ว่าจะไปเที่ยวในฤดูหนาว  เที่ยวสงกรานต์  หรือมาสูดอากาศสดชื่นนั้น  เมื่อเราได้เข้าไปในเขตชุมชน  ย่อมได้ยินประโยคที่ชาวบ้านเค้าพูดกันหลากหลายครับ  บางคนพูดเร็ว บางคนพูดช้า  ยิ่งคนที่ไม่รู้ภาษาเหนืออย่างเราด้วยแล้ว  กว่าจะทำความเข้าใจคงต้องให้ชาวบ้านเค้าแปลภาษาคำเมืองเป็นภาษาไทยอีกทีนึงแน่ๆ ฮ่า ฮ่า!! แต่คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย  ถ้าเรารู้ความหมายของภาษาเหนือบางประโยค  ที่เค้าพูดกันบ่อยๆนั้น  เพื่อที่เราจะได้สื่อสารกับเค้าได้ไม่มากก็น้อย 

     คนภาคเหนือก็ใจดีเหมือนกับคนไทยทุกๆภาคนั่นแหล่ะครับ  เจอใครก็ทักทายกันบ้าง แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือ  คนภาคเหนือมักจะทักทายกันด้วยคำว่า "กิ๋นข้าวแล้วกา (กินข้าวหรือยัง)" ซึ่งผู้เขียนคาดว่าคงเป็นกุสโลบายที่พูดติดปากกันมาตั้งแต่สมัยอดีต เพราะการถามเรื่องการข้าวนั้น จะมีความหมายกว้างไปถึงเรื่องของการอยู่ดีมีสุข มีอยู่ มีกินนั่นเอง  และอีกนัยหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคนสมัยโบราณนั้น  ต้องกินข้าวก่อนไปทำงาน  จะได้มีเรี่ยวแรงในการทำงานนั่นเอง