วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตภาคเหนือ

ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตภาคเหนือ

ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปี พ.ศ. 2347 ได้มีการเทครัวชาวยวนลงมาในเขตภาคกลาง อาทิ จังหวัดสระบุรี (โดยเฉพาะอำเภอเสาไห้)[9][10]จังหวัดราชบุรี (มีมากที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอจอมบึง)[11]จังหวัดนครปฐม (โดยเฉพาะอำเภอกำแพงแสน)[12]จังหวัดกาญจนบุรี (โดยเฉพาะอำเภอไทรโยค)[13]จังหวัดลพบุรี (ที่อำเภอชัยบาดาล)[14] และจังหวัดนครราชสีมา (เฉพาะอำเภอสีคิ้ว)[15] โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรีมีชาวยวนราว 70,000-80,000 คน[16] และมีชาวยวนแทบทุกอำเภอ ยกเว้นเพียงแต่อำเภอดำเนินสะดวกกับวัดเพลงเท่านั้น[17]
ซึ่งภาษาไทยวนทุกจังหวัดมีหน่วยเสียง พยัญชนะและหน่วยเสียงสระเหมือนกัน รายละเอียดในวรรณยุกต์แทบไม่แตกต่างกัน ยกเว้นภาษายวนลพบุรีที่มีหน่วยเสียงแตกต่างจากอีก 4 จังหวัดเพียงหน่วยเสียงเดียว[18] ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวยวนลพบุรีได้อาศัยปะปนอยู่กับหมู่บ้านชาวลาว[14] อาจทำให้หน่วยเสียงเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น